คลังบทความของบล็อก

คำควบกล้ำ

คำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน



เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า










คำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) มี 2 ชนิด คือ










คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน เช่น






พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่ ครู เพราะ ครัว กรน ปรวนแปร ขรุขระ พระ ตรง ครั้ง กราบ โปรด ปรักปรำ ครื้นเครง เคร่งครัด ครอบ ปรอย กรอง






คำที่มี ร เป็นคำควบกล้ำ






คำควบกล้ำคือ คำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกัน


มี กร- ขร- คร- ตร- ปร- พร- เช่น














เต่ากระ มะกรูด ปลากราย กราบพระ ครีบปลา














หอยแครง พริก เครื่องบิน แปรงฟัน เสือโคร่ง






ตัวอย่างประโยค






ข้อควรจำ


1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ร รวมอยู่ในพยัญชนะต้น


เช่น กราบ สะกดว่า กร + อา + บ อ่านว่า กราบ


แปรง สะกดว่า ปร + แอ + ง อ่านว่า แปรง


2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น


เช่น กราบ สะกดว่า กร + อา + บ อ่านว่า กราบ


แปรง สะกดว่า ปร + แอ + ง อ่านว่า แปรง


3. ต้องไม่ใช่คำที่มี ห นำ


เช่น หรอก สะกดว่า หร + ออ + ก อ่านว่า หรอก










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ควรมีมาตราสะกดในแม่อื่น ๆ ด้วย