คลังบทความของบล็อก

อักษรนำ

ความหมาย


       คำอักษรนำ คือ คำที่มีพยัญชนะ ๒ ตัว ประสมสระเดียวกัน มีหลักการอ่านดังนี้

      ๑. อ่านออกเสียงร่วมกันสนิทเป็นพยางค์เดียว ได้แก่

          ๑.๑ เมื่อ ห นำอักษรต่ำ เช่น หยุด หวาน หลอก หญิง เหงา หรูหรา

         ๒.๒ เมื่อ อ นำ ย มี ๕ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก

      ๒. อ่านออกเสียง ๒ พยางค์ พยางค์แรกออกเสียง อะ กึ่งเสียง พยางค์หลังออกเสียงตามสระที่ประสมอยู่และออกเสียงเหมือน ห นำ
        ๒.๑ อักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว เช่น

สมาน อ่านว่า สะ - หมาน

ผนวช อ่านว่า ผะ - หนวด

สนอง อ่านว่า สะ - หนอง

ผนวก อ่านว่า ผะ - หนวก

ถนอม อ่านว่า ถะ - หนอม

ผนึก อ่านว่า ผะ - หนึก

จมูก อ่านว่า จะ – หมูก

จรัส อ่านว่า จะ - หรัด



ถวาย อ่านว่า ถะ – หวาย

สงวน อ่านว่า สะ - หงวน

ตลาด อ่านว่า ตะ - หลาด

ผยอง อ่านว่า ผะ - หยอง

ขยาย อ่านว่า ขะ - หยาย

ฉลาม อ่านว่า ฉะ - หลาม

สมุด อ่านว่า สะ - หมุด





อักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว

มิใช่ ผะ – นวด อย่างที่เคยใช้

อักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว

มิใช่ ตะ - ลาดอย่างที่เคยทำ ผะ –หนวด(ผนวช)ตัวเดียวเสียงก็เปลี่ยนไป

เสียง “น” เปลี่ยนไปตามอักษรนำ

ตะ – หลาด(ตลาด)ตัวเดียวเสียงก็เปลี่ยนคำ

ฝึกจดฝึกจำเอาไว้ให้ดี



๒.๒ อักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว เช่น

องุ่น อ่านว่า อะ - หงุ่น

ตลาด อ่านว่า ตะ - หลาด

ตลก อ่านว่า ตะ - หลก

ตลิ่ง อ่านว่า ตะ - หลิ่ง

กนก อ่านว่า กะ – หนก



จมูก อ่านว่า จะ - หมูก

ปรอด อ่านว่า ปะ - หรอด

ตลอด อ่านว่า ตะ –หลอด

อนาถ อ่านว่า อะ - หนาด

กฤษณา อ่านว่า กริด – สะ-หนา





แต่ สะ – บาย(สบาย)ไม่ใช่อักษรนำ

เสียง “อะ” ไม่ประวิสรรชนีย์ เมื่อแยกคำอ่าน สะ – บาย คงที่

กึ่งเสียงเท่านี้ไม่มี “ห” นำ





หากตัว “ห” นำอักษรต่ำเดี่ย;
เสียงที่เปลี่ยนไปคืออักษรต่ำ

หากมี “อ” นำอักษรต่ำเดี่ยว

”อย่า อยู่ อย่าง อยาก” สี่คำเท่านี้ เสียง “อะ” ไม่เกี่ยวกลมเกลียวทุกคำ

ไม่มีเงื่อนงำฝึกจำให้ดี

เหมือน “ห” นำเชียวเหมือนกันเลยนี่

หลักการที่มีจำให้ขึ้นใจ



ข้อยกเว้น

คำบางคำออกเสียงตามความนิยม เช่น

ขมา อ่านว่า ขะ - มา

สมา อ่านว่า สะ - มา